อำนาจหน้าที่ของโรงเรียนพัชรพิทยาคม
โรงเรียนพัชรพิทยาคม เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 โดยมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาและดำเนินการตามที่กระทรวงกำหนด
โดยให้มีความเป็นอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป
ภายใต้กรอบของกฎหมาย นโยบาย และมาตรฐานการศึกษาที่รัฐมนตรีกำหนด ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ดังนี้
1. จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผน
ของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตลอดจนบริบทและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
2. จัดตั้งงบประมาณ และรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา
3. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
และความต้องการของนักเรียน ชุมชน และท้องถิ่น
4. จัดการเรียนการสอน จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสมและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
6. กำกับ ติดตาม ประเมินผลงานตามแผนงาน โครงการและประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนการพิจารณาความดีความชอบ
การพัฒนาและการดำเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
7. ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา
8. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา
รวมทั้งการรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์
9. ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน และสร้างความสัมพันธ์กับสถานศึกษา และสถาบันอื่นในชุมชนและท้องถิ่น
10. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการภายในสถานศึกษาหรือตามที่ได้รับมอบหมายและตามที่กฎหมายกำหนด
บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
1) การจัดรูปแบบการศึกษา ตามมาตรา 15
2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามมาตรา 24 – 30
3) การบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ตามมาตรา 39
4) การเป็นคณะกรรมการและเลขานุการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 40
5) การจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา ตามมาตรา 48 – 50
6) การปกครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพย์สินของสถานศึกษา ตามมาตรา 59
7) การพัฒนาบุคลากรและผู้เรียนในด้านเทคโนโลยี ตามมาตรา 65 – 66
2. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
1) การผ่อนผันการส่งเด็กเข้าเรียน ตามมาตรา 6 วรรคสอง
2) การเป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ตามมาตรา 7 วรรคสอง
3) การจัดการศึกษาแก่เด็กที่บกพร่อง พิการ หรือด้อยโอกาส ตามมาตรา 12
4) การดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 13
3. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ตามมาตรา 39 ดังนี้
(1) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
(2) บริหารกิจการของสถานศึกษา
(3) ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการศึกษา
(4) เป็นผู้แทนของสถานศึกษา
(5) จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
(6) อนุมัติประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หรือเอกสารแสดงผลการเรียน
(7) ดำเนินการอื่นใดตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมาย
และปฏิบัติราชการแทนตามการกระจายอำนาจและการมอบอำนาจ ตามมาตรา 44 – 45 จาก
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ผู้อำนวยการสำนักในกรมต่าง ๆ
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)
โดยจะมีหนังสือหรือคำสั่งมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาต้องยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานราชการ
4. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
1) วิเคราะห์และจัดทำนโยบาย แผนพัฒนาสถานศึกษา
2) วางระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับของสถานศึกษา
3) เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณและเงินอุดหนุนทั่วไป
4) แต่งตั้งคณะทำงานหรืออนุกรรมการภายในสถานศึกษา
5. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา มีอำนาจและหน้าที่ คือ
1) การควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคล ตามมาตรา 27 (1)
2) การพิจารณาความดีความชอบ ตามมาตรา 27 (2)
3) การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากร ตามมาตรา 27 (3)
4)การจัดทำมาตรฐานภาระงานของครู ตามมาตรา 27 (4)
5) การประเมินผลการปฏิบัติงานครูและบุคลากร ตามมาตรา 27(5)
6) ปฏิบัติตามที่ อ.ก.ค.ศ. หรือกรรมการสถานศึกษามอบหมาย ตามมาตรา 27 (6)
7) สั่งบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วยหรือครู ตามมติ อ.ก.ค.ศ. ซึ่งเป็นอำนาจตามมาตรา 53 (4)
8) สั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วยหรือครู ตามมาตรา 73
9) ยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีเด่น ตามมาตรา 75
10) แจ้งภาระงาน เกณฑ์ประเมิน มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามมาตรา
11) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูและบุคลากร ตามมาตรา 79
12) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูไปศึกษาดูงาน ฝึกอบรม พัฒนาตนเอง ตามมาตรา 81
13) รักษาวินัยข้าราชการครูอย่างเคร่งครัด ตามมาตรา 82
14) เสริมสร้างพัฒนาและกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ตามมาตรา 95 และมาตรา 98
6. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
1) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ. 2548
2) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน นักศึกษา พ.ศ. 2548
3) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. 2547
4) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547
5) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 2547
6) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ. 2547
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนพัชรพิทยาคม
ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุน
กิจการของสถานศึกษา โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) กำกับการดำเนินกิจการของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ ประกาศ
คำสั่งและนโยบายของต้นสังกัด ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
2) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการกิจการด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา
3) ให้ความเห็นชอบ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
4) ให้ข้อเสนอแนะและส่งเสริมสนับสนุนในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5) รับทราบและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดระบบ การดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
6) ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
7) ให้ความเห็นชอบ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งและการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา
8) ให้ความเห็นชอบ ข้อเสนอแนะในการออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารการเงิน
และการจัดหารายได้จากทรัพย์สินของสถานศึกษา
9) ให้ความเห็นชอบ ข้อเสนอแนะและให้คำปรึกษาในการจัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา
ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของต้นสังกัด รวมทั้งความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
10) ให้ข้อเสนอแนะ ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนเกี่ยวกับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ฯลฯ
11) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน